อิสรภาพแห่งใจ

ความเป็นอิสระมีอยู่ ๒ ลักษณะคือ  ๑. การเป็นอิสระเพราะได้ทำตามที่จิตอยากหรือต้องการ  ๒. การเป็นอิสระเพราะจิตปราศจากความอยาก มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายมักจะติดอยู่กับอิสระอย่างแรก ซึ่งแท้ที่จริงแล้วยังหาใช่ความเป็นอิสระที่แท้จริงไม่   ตัณหาหรือความอยากเป็นเหมือนกรงขัง หรือสิ่งคุมบังเหียนจิตที่มองเห็นได้ยาก  ถึงแม้ว่าใครจะมีอิสระในการทำตามใจของตนเองทุกอย่าง  เขาก็ยังหาได้เข้าถึงความเป็นอิสระที่แท้จริงไม่ ตัณหาจะสร้างความต้องการอย่างใหม่ขึ้นมาให้จิตดิ้นรนไขว่คว้าเสมอ แม้จะสมประสงค์อย่างหนึ่งแล้วก็ตาม ดังนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า “นตฺถิ ตณฺหาสมา นที” แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี  นั่นหมายถึงว่า ไม่มีใครสามารถเติมความประสงค์ของตัณหาให้เต็มได้เลย Continue reading อิสรภาพแห่งใจ

เรียนรู้จากกันและกัน

การอยู่ร่วมกัน ระหว่างเพื่อนร่วมงาน  เพื่อนร่วมองค์กร เืพื่อให้มีบรรยากาศที่ราบรื่นที่สุด ควรตั้งจิตไว้ว่า ทั้งเราและเขา มีทั้งข้อดีและข้อบกพร่อง สำหรับข้อบกพร่อง ต่างฝ่ายก็ต่างอดทนไม่ีน้อยไปกว่ากัน สำหรับข้อดี ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากกันและกันด้วยเช่นกัน จึงไม่มีได้ดังใจล้วน ไม่มีขัดอกขัดใจล้วน เราเรียนรู้จากความบกพร่องของกันก็ได้ ในแง่ของการฝึกความอดทน  การเห็นแบบอย่างที่ไม่น่าเอาอย่าง หรือแม้กระทั่งความเมตตากรุณา สำหรับข้อดี นอกจากที่เราได้รับประโยชน์โดยตรง ตามฐานะที่เกี่ยวข้องกันแล้ว เรายังมีโอกาสหัดให้เกิดมุทิตาจิต หรือการพลอยชื่นชมยินดี ในความดีความสามารถ และได้เห็นแบบอย่างที่น่าเอาอย่างจากเขามาพัฒนาตนเอง Continue reading เรียนรู้จากกันและกัน

รู้หมดแต่อดไม่ได้

มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพท่วมท้น ในการคิดเรื่องที่ดีงามและฉลาดในการ ใช้เหตุผลเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์พัฒนาด้วยกันทั้งนั้น แทบจะไม่ต้องให้ใครมาสอนหรือแนะนำเลย นี่คงเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนถึงความเป็นสัตว์ประเสริฐของมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม มนุษย์เป็นอันมาก ก็ยังอุตส่าห์สร้างเหตุแห่งทุกข์ขึ้นมาเบียดเบียนตน  หรือสร้างความเดือดร้อนขึ้นมาเบียดเบียนผู้อื่นอย่างไม่ว่างเว้น ดูเหมือนปัญหาไม่ใช่เรื่องของความรู้เลย ปัญหาคือมนุษย์เหล่านั้น ยังขาดความเป็นปกติของกายวาจาที่มีศีลเป็นกรอบ หรือมีก็น้อยเท่าน้อย และยังขาดความเป็นปกติของใจที่มีสติคุ้มครอง หรือมีก็วิ่นๆ แหว่งๆ ศีลและสติ เปรียบเหมือนผืนดินอันอุดม เหมือนน้ำและแสงแดด ที่รอให้มนุษย์แต่ละคนลงมือปลูกเมล็ดพันธุ์ที่วิเศษ ซึ่งถูกเก็บซ่อนอยู่ในจิตใจของแต่ละคนลงไป  เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ได้เจริญงอกงาม แล้วผลิผลออกมาเป็นความเมตตาการุณย์ และศักยภาพอันพรั่งพร้อม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลทั้งแก่ตนเองทั้งแก่ผู้อื่น โดยส่วนเดียว Continue reading รู้หมดแต่อดไม่ได้

ประโยชน์ท่าน กับ ประโยชน์ตน

สวัสดิภาพส่วนสังคม คือสวัสดิภาพส่วนตน เมื่อสังคมอยู่ได้ เราก็อยู่ได้ เมื่อสังคมมีปัญหา เราก็ต้องได้รับผลกระทบ ไม่มากก็น้อย ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข อย่างน้อยก็มั่นใจได้ว่า เขาจะไม่เบียดเบียนเรา ไม่เบียดเบียนคนที่เรารัก ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม ที่เราอยู่อาศัย เหตุผลเท่านี้ ก็เพียงพอแล้ว ที่เราต้องให้ความเมตตา เห็นอกเห็นใจ และช่วยเหลือผู้อื่น Continue reading ประโยชน์ท่าน กับ ประโยชน์ตน

ทักษะประจำชีวิต

                       เข้าใจและยอมรับความแตกต่าง   เพราะสิ่งที่เราไม่อยากให้เป็น มีมากกว่าสิ่งที่เราอยากให้เป็น  เราต้องเจอ สิ่งที่ไม่ได้ดังใจมากกว่า สิ่งที่ได้ดังใจ รู้ทันโลกธรรมที่กำลังเผชิญ  เพื่อจะได้ไม่หวั่นไหวหรือฟูแฟบเกินไป จนจิตเสียศูนย์   ขาดดุลยภาพ บริหารความโกรธ    เพราะโลกมีสิ่งที่พร้อมจะกระตุ้นให้เราโกรธเกลียดได้เสมอ รู้จักให้อภัยผู้อื่น เพราะผู้อื่นยังไม่ใช่มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ รู้จักให้อภัยตน เพราะเรายังไม่ใช่มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ Continue reading ทักษะประจำชีวิต

มีมากกว่าที่คิด

เมื่อเผชิญทุกขเวทนาทางกายอย่างหนักหนาต่อเนื่อง ก็จะเห็นคุณค่าของอุเบกขาเวทนา ที่เคยรู้สึกว่าจืดชืดน่าเบื่อหน่าย เมื่่อเห็นผู้คนที่โชคร้ายหลายอย่าง ก็จะเห็นความโชคดีมากมายของตนที่เคยมองข้าม เมื่อเห็นคนทีแร้นแค้นแสนสาหัส  ก็จะเห็นว่าตนยังมีมากพอจนอาจแบ่งปัน เมื่อเห็นคนที่โดดเดี่ยวเดี่ยวดาย ก็จะรู้สึกชื้นใจที่ยังพอมีคนรอบข้าง Continue reading มีมากกว่าที่คิด

มายาแห่งความคิด มายาแห่งกิเลส

บุรุษผู้หนึ่งออกเดินทาง เพื่อตามกำจัดศัตรูผู้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของตน เขาเดินทางมาถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ได้พบเงาของศัตรู ที่สะท้อนภาพออกมา ในกระจกเงาหลายร้อยหลายหมื่น หลายแสนอัน….จนนับไม่ถ้วน บุรุษผู้นั้นเข้าใจผิดคิดว่าภาพที่สะท้อนในกระจกเงา คือ ศัตรูตัวจริง ไม่ทันได้คิดอะไร รีบวิ่งถลันเข้าไป ทุบทำลายกระจกด้วยความโกรธแค้น เขาทุบกระจกแตกกระจาย อันแล้วอันเล่า เสียจนเหนื่อยอ่อน ก็ยังไม่สามารถทำอะไรศัตรูได้ เพราะตัวศัตรูที่แท้จริงของเขา ซ่อนตัวอยู่ ณ อีกมุมหนึ่ง ความคิดปรุงแต่งที่พาให้โกรธ เศร้า เหงา เกลียด รัก โลภ ไม่ต่างอะไร กับภาพสะ้ท้อนบน กระจกเงา โดยมีที่มาจากเจ้าของเงา คือ กิเลส ที่ซ่อนอยู่ที่จิต การติดตาม การต่อเติม และการต่อต้าน ความคิดปรุงแต่ง ก็เปรียบเหมือน การที่บุรุษผู้นั้น เที่ยววิ่งไล่ทุบเงาของศัตรูในกระจก แต่ศัตรูที่แท้จริงไม่ได้ถูกจำกัด ทุบทำลายเงาในกระจกนี้ ภาพเงาในกระจกอื่นๆ ก็ยังปรากฏขึ้นมาเรื่อย จนกว่าจะค้นพบหรือรู้จักต้นตอที่มาแห่งเงา คือ กิเลส ที่ซ่อนอยู่ที่ จิต จึงจะไม่หลงวิ่งไปทุบเงาในกระจก และไม่ต้องเหนื่อยกับการไล่ทุบทำลายเงาในกระจกอีกต่อไป Continue reading มายาแห่งความคิด มายาแห่งกิเลส

ทิ้งความมืดไว้เบื้องหลัง

พระพุทธองค์ทรงจำแนกประเภทชีวิตไว้ ๔ แบบ ตโม  ตมปรายโน  =  มืดมา  มืดไป โชติ  ตมปรายโน  =  สว่างมา  มืดไป ตโม  โชติปรายโน  = มืดมา  สว่างไป โชติ  โชติปรายโน = สว่างมา  สว่างไป ชีวิต หากจะมืดมาแล้ว ก็ขอจงสว่างไปข้างหน้า หรือหากสว่างมาแล้ว ก็พยายามอย่าปล่อยให้ความมืดเข้าครอบงำ หากจะให้ปลอดภัยแท้จริง ก็จงอาศัยธรรมะคำสอนของพระพุทธองค์ เป็นเครื่องดำเนินไปสู่ความสว่างอันถาวรเถิด Continue reading ทิ้งความมืดไว้เบื้องหลัง

สองประสาน

ในชีวิต  บางครั้งก็จำเป็นต้องแข็ง บางบทก็จำเป็นต้องนุ่มนวล ความแข็ง และความนุ่มนวล อีกสองทักษะที่จำเป็นในการปรับใช้ชีวิต หากรู้จักเลือกใช้ ให้ประสานสอดคล้องกับจังหวะสถานการณ์ ก็จะช่วยให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างราบรื่น หรือผ่านอุปสรรคไปได้ด้วยดี เพียงพิจารณาเลือกใช้ให้เป็น ถูกบุคคล ถูกเวลา ถูกสถานที่ สถานการณ์ และถูกธรรม กับบางคน บางสถานการณ์ บางครั้ง ต้องเข้มแข็ง บางครั้งต้องนุ่มนวล กับบางคน บางสถานการณ์   ต้องนุ่มข้างนอก  แข็งข้างใน กับบางคน บางสถานการณ์  ต้องแข็งข้างนอก นุ่มข้างใน กับบางคน บางสถานการณ์  ต้องนุ่มนวลทั้งข้างนอก นุ่มนวลทั้งข้างใน กับบางคน บางสถานการณ์  ต้องแข็งทั้งข้างใน  แข็งทั้งข้างนอก Continue reading สองประสาน